วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์ต่อพ่วง







ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) 






Hard Disk   คือ  อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก  สามารถเก็บได้อย่างถาวรโดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา  เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย ดังนั้น  Hard Disk  จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ  โปรแกรม  และข้อมูลต่าง  ๆ  เนื่องจาก  Hard Disk  เป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัพเกรดทำให้เทคโนโลยี  Hard Disk  ในปัจจุบันได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการเลือกซื้อ  Hard Disk   จึงควรคำนึงซึ่งประสิทธิภาพที่จะได้รับจาก  Hard Disk
ส่วนประกอบของ Hard Disk 
1. แขนของหัวอ่าน ( Actuator Arm ) ทำงานร่วมกับ Stepping Motor ในการหมุนแขนของหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับการอ่านเขียนข้อมูล โดยมีคอนโทรลเลอร์ ทำหน้าที่แปลคำสั่งที่มาจากคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็เลื่อนหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เพื่ออ่านหรือเขียนข้อมูล และใช้หัวอ่านในการอ่านข้อมูล ต่อมา Stepping Motor ได้ถูกแทนด้วยVoice Coil ที่สามารถทำงานได้เร็ว และแม่นยำกว่า Stepping Motor
2 . หัวอ่าน ( Head ) เป็นส่วนที่ใช้ในการอ่านเขียนข้อมูล ภายในหัวอ่านมีลักษณะเป็น ขดลวด โดยในการอ่านเขียนข้อมูลคอนโทรลเลอร์  จะนำคำสั่งที่ได้รับมาแปลงเป็นแรงดันไฟฟ้าแล้วป้อนเข้าสู่ขดลวดทำให้เกิดการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก ไปเปลี่ยนโครงสร้างของสารแม่เหล็ก ที่ฉาบบนแผ่นดิสก์ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลขึ้น
3. แผ่นจานแม่เหล็ก ( Platters ) มีลักษณะเป็นจานเหล็กกลมๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กวางซ้อนกันหลายๆชั้น (ขึ้นอยู่กับความจุและสารแม่เหล็กที่ว่าจะถูกเหนี่ยวนำให้มีสภาวะเป็น และเพื่อจัดเก็บข้อมูล โดยจานแม่เหล็กนี้จะติดกับมอเตอร์ ที่ทำหน้าที่หมุน แผ่นจานเหล็กนี้ ปกติ Hard Disk  แต่ละตัวจะมีแผ่นดิสก์ประมาณ 1-4 แผ่นแต่ละแผ่นก็จะเก็บข้อมูลได้ทั้งด้าน
4. มอเตอร์หมุนจานแม่เหล็ก ( Spindle Moter ) เป็นมอเตอร์ที่ใช้หมุนของแผ่นแม่เหล็ก ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อความเร็วใน การหมุน ของ Hard Disk เพราะยิ่งมอเตอร์หมุนเร็วหัวอ่านก็จะเจอข้อมูลที่ต้องการเร็วขึ้น ซึ่งความเร็วที่ว่านี้จะวัดกันเป็นรอบต่อนาที ( Rovolution Per Minute หรือย่อว่า RPM ) ถ้าเป็น Hard Disk รุ่นเก่าจะหมุนด้วยความเร็วเพียง3,600รอบต่อนาที ต่อมาพัฒนาเป็น 7,200รอบต่อนาที และปัจจุบันหมุนได้เร็วถึง 10,000รอบต่อนาที การพัฒนาให้ Hard Disk หมุนเร็วจะได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น
5. เคส ( Case ) มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ใช้บรรจุกลไกต่างๆ ภายในแผ่นดิสก์เพื่อป้องกันความเสียหาย ที่เกิดจากการหยิบ จับ และป้องกันฝุ่นละออง





ชนิดของฮาร์ดดิกส์
IDE (Integrated Drive Electronics)
แบบแรกคือ IDE เป็นแบบที่มีใชกันมานานมาก จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังหาซื้อมาใช้งานได้อยู่ มีความจุตั้งแต่ 40-500GB ส่วนประกอบที่จำเป็นมีสี่ส่วนด้วยกันคือ IDE Port ที่ตัวเมนบอร์ด, สายสัญญาณ 80 pin IDE, Power connector และตัว hard disk IDE นั่นเอง
Serial ATA (Advanced Technology Attachment)
เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน 2545 งาน PC Expo ใน New York ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากที่มีการนำเสนอ Parallel ATA (IDE) มากว่า 20 ปี รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆที่ทำให้การอ่านข้อมูลได้เร็วขึ้น และพัฒนาให้เกิดเทคโนโลยี Serial ATA ขึ้นมาแทนที่ฮาร์ดดิสค์แบบ IDE ซึ่งเจ้า Serial ATA มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากในส่วนของ มีจำนวน pin น้อยกว่า Parallel ATA การเชื่อมก็จะคล้ายคลึงกับแบบ IDE จะต่างกันก็ตรงหน้าตาของ connector ของสายไฟและสายสัญญาณเท่านั้น
เมื่อมองดูความแตกต่างทางด้านกายภาพแล้วเราจะเห็นได้ว่า hard disk แบบ IDE และ SATA จะมีการเชื่อมต่อที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงทั้งในเรื่องของ Connector ที่ตัวของ hard disk เองหรือไม่ว่าจะเป็นที่ตัวเมนบอร์ด รวมไปถึงสายสัญญาณและสายไฟที่ใช้ในการเชื่อมต่อด้วย ฉะนั้นหากต้องการซื้อ hard disk มาใช้งานก็ต้องสำรวจก่อนด้วยว่าเมนบอร์ดรองรับการเชื่อมต่อกับ hard disk แบบใดด้วย

Connector ที่ตัวเมนบอร์ดของ Interface ทั้สองแบบก็จะมีรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันออกไป ตัว SATA จะกำหนดให้ 1 Connector สามารถต่อฮาร์ดดิสค์ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น ส่วน IDE นั่น 1 Connector เราสามารถเลือกเอาไปต่อฮาร์ดดิสค์หรือซีดีรอมหรือทั้งสองอย่างรวมกันแล้วไม่เกิน 2 ตัวได้ เมนบอร์ดสมัยใหม่ในปัจจุบันนิยมให้ Port SATA มาหลายอัน แต่มักจะให้ IDE มาแค่อันเดียว เพื่อสำหรับต่อ CD-ROM ซึ่งอาจมีปัญหาหาต้องต่อใช้งานรวมกับฮาร์ดดิสค์แบบ IDE ดังนั้นหากจะอัพเกรดเครื่องก็ต้องดูในส่วนนี้ด้วย

สายสัญญาณของฮาร์ดดิสค์แบบ IDE จะมีลักษณะเป็นสาย Parallel หรือที่เรียกกันติดปากว่า "สายแพร" ซึ่งสายแพรที่ว่านี้มีอยู่สองแบบด้วยกัน คือแบบ 40Pin หรือ 40 เส้น และ 80 Pin หรือ 80 เส้น โดยสายแบบ 40 pin นั้นจะนำไปใช้สำหรับ CD Driveและ DVD Drive ส่วน 80 Pin จะใช้กับฮาร์ดดิสค์ ไม่แนะนำให้ใช้งานสลับกัน แม้จะใช้งานได้ก็ตาม
อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้นว่า 1 Connector ของ IDE สามารถต่ออุปกรณ์แบบ IDE ได้สองตัว สายที่ใช้ต่อก็เลยออกแบบให้สามารถอุปกรณ์ได้สองตัวตามที่กำหนด โดยปลายข้างหนึ่งจะถูกเชื่อมต่อเข้าที่เมนบอร์ด (สีฟ้า) และ ที่เหลือจะเชื่อมต่อเข้าที่ตัวอุปกรณ์ IDE ซึ่งก็อาจจะเป็น CD-ROM หรือฮาร์ดดิสค์ก็ได้ โดยเราอาจะต่อเพียงแต่อุปกรณ์ IDE ตัวเดียวหรือสองตัวเพื่อใช้งานร่วมกันก็ได้ แต่มีข้อแม้อย่างหนึ่งว่า ไม่แนะนำให้ต่อ CD-ROM กับ ฮาร์ดดิสค์ ใช้งานร่วมกัน เพราะจะทำให้ความเร็วในการทำงานของฮาร์ดดิสค์ลดลง ควรต่ออุปกรณ์ IDE ชนิดเดียวกันไว้ด้วยกันเท่านั้น ในการเชื่อมต่อสาย เนื่องจากว่ามีอุปกรณ์ต่อร่วมกันอยู่กับสายเส้นเดียวกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดการทำงานของอุปกรณ์ออกเป็น Master และ Slave เพื่อระบุตัวอุปกรณ์สำหรับทำงาน ดังนั้นเวลาต่อสายเราต้องคำถึงด้วยว่าเราได้กำหนดให้อุปกรณ์ตัวใดเป็น Master และ Slave เพื่อให้อุปกรณ์สามารถทำงานได้

สำหรับสายของฮาร์ดดิสค์แบบ SATA นั้นจะเป็นสายเส้นเดียวที่ด้านหนึ่งจะเชื่อมต่อเข้ากับตัวเมนบอร์ด และปลายอีกด้านหนึ่งจะเชื่อมต่อเข้าที่ตัวฮาร์ดดิสค์แบบ SATA ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบนี้ก็คือความเป็นระเบียบเรียบร้อยของตัวสายอันเนื่องมาจากขนาดที่เล็กกว่าของสาย ทำให้การจัดวางสายใช้เนื่อที่ภายในเคสน้อย
 USB คืออะไร


เคยได้ยินการเชื่อมต่อระบบ USB มาแล้วนะคะ

และบางคนก็ใช้การเชื่อมต่อระบบผ่าน พอร์ท USB มามากมาย
แต่ยังไม่มีใครทราบว่า USB คืออะไร

เรามารู้จักกับคำว่า USB กันดีกว่านะคะ


USB หรือ Universal Serial Bus คือ ระบบเชื่อมต่ออนุกรมความเร็วสูงของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ I/O (Input/output devices) อื่น ๆ ที่นำมาเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็น Printer, Modem, Mouse, Keyboard, Digital Camera และอื่นๆ อีกมากมายคะ โดยในปัจจุบันถือเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมที่คอมพิวเตอร์ยุคใหม่ควรจะต้องมี ทุกวันนี้ USB พัฒนามาถึง version 2.0 สามารถโอนถ่ายข้อมูลความเร็วสูงถึง 480 Mbps โดย USB

version 1.1 มีความเร็วสูงสุดที่ 12 Mbpsคะ





 พอร์ตยูเอสบี (usb port) 

พอร์ตยูเอสบี (usb port) คือ ช่องเชื่อมต่อที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับพีซีคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลให้รวดเร็วขึ้นคะ ด้วยความเร็วถึง 12 Mbits/s และก็สูงสุดประมาณ 400 Mbits/s บน USB 2.0 นะคะ นอกจากนี้ USB Port สามารถต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 127 ชิ้น เพราะมีแบนด์วิดธ์ในการรับส่งข้อมูลสูงกว่า และสามารถใช้กับระบบปลั๊กแอนด์เพลย์ (plug and play คือ เมื่อติดตั้ง อุปกรณ์เข้าไปอุปกรณ์นั้นๆจะสามารถทำงานได้ในระดับหนึ่งเลย) 

พอร์ตยูเอสบีจะเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สูงประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1-2 เซ็นติเมตร




                  เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์เป็นเครื่องพิมพ์ที่นนิยมใช้งานกันแพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากราคา และคุณภาพการพิมพ์อยู่ในระดับที่เหมาะสม การทำงานของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ใช้หลักการสร้างจุด ลงบน กระดาษโดยตรง หัวพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ มีลักษณะเป็นหัวเข็ม (pin) เมื่อต้องการพิมพ์สิ่งใดลงบนกระดาษ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งที่ประกอบกันเป็น ข้อมูลดังกล่าวจะยื่นลำหน้าหัวเข็มอื่น เพื่อไปกระแทกผ่านผ้าหมึก ลงบนกระดาษ ก็จะทำให้เกิดจุดขึ้น การพิมพ์แบบนี้จะมีเสียงดัง พอสมควร ความคมชัดของข้อมูลบน กระดาษขึ้นอยู่กับจำนวนจุด ถ้าจำนวนจุดยิ่งมากข้อมูลที่พิมพ์ลงบนกระดาษก็ยิ่งคมชัดมากขึ้น ความเร็ว ของเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์อยู่ระหว่าง 200 ถึง 300 ตัวอักษรต่อวินาที หรือประมาณ 1 ถึง 3 หน้าต่อนาที เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เหมาะสำหรับงานที่พิมพ์แบบฟอร์มที่ต้องการซ้อนแผ่นก๊อปปี้ หลาย ๆ ชั้น เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ ใช้กระดาษต่อเนื่องในการพิมพ์ ซึ่งกระดษาประเภทนี้จะมีรูข้างกระดาษทั้งสองเอาให้ หนามเตยของเครื่องพิมพ์เลื่อนกระดาษ


PS/2 Mouse, PS/2 Keyboard Port
          เป็นพอร์ต์ที่ใช้สำหรับต่อสายเม้าส์กับสายคีย์บอร์ดเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเรียกว่าพีเอสทูเม้าส์หรือพีเอสทูคีย์บอร์ด ซึ่งพอร์ตจะมีรูกลมหกรู แล้วก็รูสี่เหลี่ยมหนึ่งรู ซึ่งปลายสายคีย์บอร์ดหรือเม้าส์ก็จะมีเข็มที่ตรงกับตำแหน่งของรูที่พอร์ตด้วย การเสียบสายเม้าส์และคีย์บอร์ดเข้าไป ต้องระวังให้เข็มตรงกับรู สำหรับพอร์ตเม้าส์และคีย์บอร์ดนั้นจะใช้ Color Key แสดงเอาไว้ สีเขียวคือต่อสายเม้าส์ ส่วนสีน้ำเงินต่อสายคีย์บอร์ด นอกจากนี้ยังมีจุดสังเกตุอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อประกอบเมนบอร์ดเข้ากับเคส ที่เคสจะมีสัญลักษณ์รูปเม้าส์กับรูปคีย์บอร์ด ติดอยู่ เพื่อให้ต่อสายเม้าส์และคีย์บอร์ดได้ถูกต้อง

           ตัวอย่างอุปกรณ์ต่อพ่วง

      เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot Matrix Printer)
Dot Matrix Printer
Ink-Jet Printer

วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กระต่ายสายพันธุ์ฮอลแลนด์ ลอป (Holland Lop)
เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่าง กระต่ายสายพันธุ์เฟรนซ์ ลอป (French Lop) กับ เนเธอแลนด์ ดวอร์ฟ (Natherland Dwarf) โดยนักพัฒนาพันธุ์กระต่าย (Breeder) ชาวดัทซ์ หรือ เนเธอแลนด์ ชื่อ นายแอนเดรียน เดอคอก
การ พัฒนาสายพันธุ์ใช้เวลาในการพัฒนายาวนานร่วม 15 ปี เริ่มตั้งแต่ปี คศ.1949 จนถึงปี 1964
กระต่ายฮอลแลนด์ ลอป ต้นแบบจึงเกิดขึ้นและได้รับการจดทะเบียนรับรองมาตรฐานสายพันธุ์จากสภา กระต่าย
แห่งเนเธอร์แลนด์ และในปี 1980 ฮอลแลนด์ลอป ก็ได้รับการยอมรับจากสมาคมพัฒนาพันธุ์กระต่าย
แห่งสหรัฐอเมริกา (ARBA) ที่งานประกวดกระต่ายสวยงาม ที่มลรัฐเท็กซัส








ลักษณะสายพันธุ์

คุณลักษณะ ของกระต่าย ฮอลแลนด์ ลอป (Holland Lop) ที่ตรงตามมาตรฐาน
1. ลักษณะหัวต้องกลมโต
2. กล้ามเนื้อหนาแน่น
3. ลำตัวสั้นกระทัดรัด สมส่วนทั้งความยาว ความกว้าง และความสูง
4. สัดส่วนของลำตัว และหัว ควรจะเป็น 3 : 1 โดยหัวที่โต จะต่อกับลำตัวแลดูเหมือนไม่มีคอ
5. ไหล่ และอกกว้าง หนาและเต็ม เช่นเดียวกับสะโพก
6. ขาสั้น ขนนุ่มลื่น
7. หน้าตรง และกระดูกใหญ่
8. ใบหูทั้งสองข้างต้องตกแนบสนิทกับแก้ม และใบหูต้องหนาและมีขนขึ้นเต็ม ใบหูต้องยาวเลยจากคางไม่เกิน 1 นิ้ว ความยาวของหูต้องสัมพันธ์กับหัว และตัว
9. น้ำหนักตัวตามมาตรฐานในตัวผู้ คือ 1.6 ก.ก. ในตัวเมีย 1.7 ก.ก.
และน้ำหนักที่มากที่สุดที่สามารถจดทะเบียนได้คือ 1.8 ก.ก.

กลุ่มสีที่ตรง ตามมาตรฐาน


กระต่ายฮอลแลนด์ลอปมีสีมากมายหลากหลายสี จนสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มสีต่างๆ ได้มากถึง 7 กลุ่มสี ได้แก่ กลุ่มอะกูติ (Agouti) กลุ่มสีขาวแต้ม (Broken) กลุ่มสีขาวมีมาร์กกิ้งแปดแต้ม (Pointed White) กลุ่มสีพื้น (Self) กลุ่มสีเฉด (Shaded) กลุ่มสีพิเศษ (Ticked) และกลุ่มสีอื่นๆ (Wide Band) หรือเราอาจจะกล่าวง่ายๆ ว่ามีสีต่างๆ ที่รับรองโดย ARBA แล้ว ดังต่อไปนี้ คือ

กลุ่มอะกูติ : สีเชสนัทอะกูติ สีช็อกโกแล็ตอะกูติ สีชินชิลล่า สีช็อกโกแล็ตชินชิลล่า สีลิงซ์ สีโอปอล
สีกระรอก (Squirrel)


กลุ่มสีขาวแต้ม : สีขาวแต้ม คือสีขาว แต่มีสีแต้มเป็นสีอะไรก็ได้ ที่ได้รับการรับรอง รวมถึงสีไตรคัลเลอร์
หรือสามสี (มีสีขาว น้ำตาล และดำ)


กลุ่มสีขาวมีมาร์กกิ้งแปดแต้ม : โดยที่มาร์กกิ้งต้องมีสีกลุ่มสีพื้น (สีดำ สีบลู สีช็อกโกแล็ต สีไลแลค)

กลุ่มสีพื้น : สีดำ สีบลู สีช็อกโกแล็ต สีไลแลค สีขาวตาแดง และสีขาวตาฟ้า

กลุ่มสีเฉด : สีวิเชียรมาศ สีทองแดง สีซีล สีเทาควันบุหรี่ และสีกระ

กลุ่มสีพิเศษปลายขนสีน้ำตาล : ตอนนี้มีอยู่สีเดียวคือ สีสตีล หรือสีสนิมเหล็ก

กลุ่มสีอื่นๆ : สีครีม สีฟางข้าว สีฟร้อสตี้ (เทาควันบุหรี่อ่อนๆ) สีส้ม และสีแดง

ในขณะนี้ได้มีสีอีกกลุ่มหนึ่งที่เพิ่งจะได้รับการรับรองเมื่อต้นปี พ.ศ. 2548 ที่ผ่านมา คือ กลุ่มสร้อยทอง หรือ ออตเตอร์ สีทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นสีมาตรฐานของสมาคมนักพัฒนาพันธุ์กระต่ายแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Rabbit Breeders Association, Inc.) แต่ของสภากระต่ายแห่งสหราชอาณาจักร (The British Rabbit Council) ก็จะมีสีน้อยกว่านี้ แต่จะมีสีแปลกๆเพิ่มขึ้นมาแทน เช่น กลุ่มสีสร้อยเงิน เช่น สีเทาควันบุหรี่สร้อยเงินและสีทองแดงสร้อยเงิน เป็นต้น



วีธีการเลี้ยงกระต่าย

ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับการเลี้ยงกระต่าย
จับหูกระต่าย ขอบอกว่าถึงตายเชียวค่ะ หูของกระต่ายมีเส้นประสาทเยอะมาก การจับหูหิ้ว จะเจ็บ และถึงกับตายได้

อย่าจับท้อง จริงๆแล้วจับได้ค่ะ แต่พอประมาณนะ จับท้องน่ะเค้ารำคาญ ก็เหมือนคน เวลาใครมาจับท้องเรา เราจะจั๊กกะจี๋หรือรำคาญนิดๆใช่มั้ยล่ะคะ

อย่าจับเค้าบ่อยๆ เดี๋ยวเฉามือ จับได้ค่ะ กระต่ายเค้าชอบให้เราลูบตัวเบาๆ บางตัวถึงกับเคลิ้มเลยนะคะ เอานิ้วเกาหลังคอเบาๆ เพราะส่วนนั้นเค้าเลียตัวเองไม่ค่อยถึงน่ะค่ะ

ให้กินผักบุ้ง ถั่วฝักยาว กระถิน แตงกวา กะหล่ำปลี ตายแน่ๆค่ะ ผักบุ้งทั้งไทยและจีนมียางค่ะ อย่าไปให้เค้าเลย, แตงกวา น้ำเยอะ ท้องเสียได้ , กระถิน มีพิษ ท้องร่วง , ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี ท้องอืด

ให้กระต่ายกินนม ถ้าซื้อมาจากร้านแล้วถึงจะยังไม่หย่านมแม่ แต่เค้าก็ถูกที่ร้านจับหย่านมแล้วค่ะ ห้ามให้นมอีกเด็ดขาด เพราะจุลินทรีย์ในการย่อยนมของเค้าหมดไปแล้ว ถ้าคุณให้นมเค้าจะท้องเสียนะคะ

ให้กินขนมของคน เช่น ป๊อกกี้ หมูปิ้ง ข้าวสุก ขนมปัง เค้ก ช็อกโกแลต ห้ามเด็ดขาดนะจ๊ะ
เนื่องจากเค้าเป็นสัตว์ที่มีกระเพาะหมัก ย่อยได้แต่หญ้าและผัก เนื้อสัตว์และแป้งเป็นของต้องห้าม (บางคนบอกว่ามันน่ารักดีกินขนม บางคนก็รู้ว่าไม่ดี แต่บอกว่าเห็นมาดมๆขอกินก็ใจอ่อนให้ แต่ให้ไม่เยอะหรอกนะ)
จะมากจะน้อยก็ไม่เป็นผลดีกับเค้า คุณอาจบอกว่าให้แล้วก็อยู่ได้ไม่เห็นตายนี่ ถูกค่ะ ยังไม่ตาย แต่อายุก็คงไม่ยืน ถ้าอยากให้เค้าอยู่กับเรานานๆก็หยุดตามใจเค้าเถอะค่ะ กระต่ายเนี่ยส่งอะไรให้เค้าก็กินหมดแหละ

ให้อยู่แต่ในกรง ถ้าให้คุณอยู่แต่ในห้องนอนห้ามออกไปไหนจะอึดอัดมั้ยคะ เช่นกันค่ะ เค้าก็อยากออกมาวิ่งเล่นบ้าง เป็นการออกกำลังกายด้วยนะคะ
ปล่อยวิ่งเล่นเป็นบางเวลาก็พอค่ะ เช่น กลับมาจากที่ทำงานแล้วค่อยปล่อยเค้า ก่อนคุณนอนก็ค่อยเก็บเข้ากรง เป็นต้น ทั้งนี้จัดสรรเวลาตามสะดวกนะคะ


นิสัยของกระต่าย
กระต่ายก็คือกระต่าย ไม่ใช่หมาแมว จะให้เรียกแล้วมาหา ยากค่ะ เป็นบางตัวเท่านั้นแล้วแต่อารมณ์ของเค้าด้วยนะ

เนื่องด้วยวงจรชีวิตเค้าจะเป็นสัตว์ที่ถูกล่า ดังนั้นแม้ว่าจะป่วย เค้าก็จะไม่แสดงอาการให้เห็น เมื่อเจ้าของมารู้อีกทีก็จะเป็นมากแล้วหรือบางครั้งก็มักจะสายเกินไป
ดังนั้นจึงควรพาเจ้าตัวน้อยไปตรวจสุขภาพกับคุณหมอเฉพาะทางที่เชี่ยวชาญสัตว์เล็กนะคะ

ชอบอยู่ในที่แคบๆและมุมมืด เพราะเค้ารู้สึกปลอดภัย

กลางวันนิ่ง กลางคืนคึก เพราะกระต่ายเป็นสัตว์หากินกลางคืนค่ะ กลางคืนเค้าอาจจะซนหรือทำเสียงดัง ให้คุณหงุดหงิด อย่าโกรธเค้าเลยนะคะ ต้องเข้าใจว่าเป็นนิสัยเค้า เหมือนกับคนที่ตื่นเช้า หลับกลางคืนจ้า

กระต่ายเป็นสัตว์อายุยืน 4-10 ปีขึ้นไป ดังนั้นก่อนเลี้ยงต้องคิดให้ดี ถ้าคุณจะต้องย้ายอพาร์ทเม้นท์ หรือไปอยู่ต่างจังหวัด หรือในอนาคตต้องไปเรียนต่อต่างประเทศ เค้าจะต้องถูกทอดทิ้งซึ่งน่าสงสารมากๆเลยค่ะ

กระต่ายอาจจะออกลูกได้ถึง 1-14 ตัวขึ้นไปในครอกเดียว (กรณี 21 ตัวเคยเกิดมาแล้ว)และถ้ามีการผสมต่อหลังคลอดก็จะติดทันที ดังนั้นหากไม่ต้องการมีภาระเลี้ยงลูกกระต่าย ต้องพาไปทำหมันหรือแยกกันปล่อยวิ่งนะคะ

อึกระต่ายไม่เหม็น (ยกเว้นอึพวงองุ่นซึ่งกระต่ายจะกินเข้าไปใหม่อีกครั้ง กินจากก้นเลยค่ะ ที่อยู่ข้างนอกเก็บทิ้งได้เลยจ้า) ฉี่ถ้าทิ้งไว้นานฉุนเอาเรื่องค่ะ
หมั่นทำความสะอาดก็จะไม่เหม็นนะคะ ตัวเค้าก็ไม่เหม็นค่ะ เพราะกระต่ายจะเลียทำความสะอาดตัวเองตลอด แต่ถ้าสถานที่เลี้ยงเค้าเหม็นเพราะคุณไม่หมั่นทำความสะอาด ตัวเค้าก็จะเหม็นแน่ๆค่ะ

การอาบน้ำกระต่าย สามารถทำได้ แต่ไม่บ่อยนะจ๊ะ 3-4 เดือนอาบสักที และต้องเป่าให้แห้งด้วยนะ เดี๋ยวจะเป็นหวัด
อาหารของกระต่ายตามช่วงอายุ 
แรกเกิดถึง 1 เดือนครึ่ง - นมแม่กระต่าย (ถ้าแม่ไม่เลี้ยงหรือน้ำนมไม่พอให้ป้อนนมแพะแทน)
1 เดือนครึ่ง - 2 เดือน - นมแม่กระต่าย เสริมด้วยหญ้าแห้งแพงโกล่า อัลฟัลฟ่า และอาหารเม็ด
2 เดือน - 4 เดือน - หญ้าแห้งแพงโกลา อัลฟัลฟ่า อาหารเม็ด
4 เดือน - 6 เดือน - หญ้าแห้งแพงโกลา อัลฟัลฟ่า อาหารเม็ด หญ้าขน ผักต่างๆ
6 เดือน - 1 ปี - หญ้าแห้งแพงโกลา หญ้าแห้งทิโมธี หญ้าขน ผักต่างๆ อาหารเม็ดลดน้อยลง งดอัลฟัลฟ่า1 ปีขึ้นไป - หญ้าแห้งแพงโกลา หญ้าแห้งทิโมธี หญ้าขน ผักต่างๆ อาหารเม็ดแค่หยิบมือเล็กๆหรืองดให้

อาหารของกระต่าย
ผักที่ปลอดภัย - ผักกาดหอม ผักกาดขาว กวางตุ้ง คะน้า ผักชีฝรั่ง ใบบัวบก แครอท (กะเพราให้อาทิตย์ละครั้ง ครั้งละ 2-3 ใบ เพื่อช่วยเสริมในการแก้ท้องอืด)

ผักอันตราย - ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว แตงกวา มะเขือเทศ กะหล่ำปลี ผักกาดแก้ว กระถิน

ผลไม้ที่ปลอดภัย - แอปเปิล สาลี่ ฝรั่ง ชมพู่ มะละกอ สับปะรด และผลไม้ตระกูลเบอรี่ต่างๆ

ผลไม้อันตราย - กล้วย ส้ม ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว

การให้ผลไม้กระต่าย ควรให้สัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 1-2 ชิ้นเล็กๆเท่านั้น