วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กระต่ายสายพันธุ์ฮอลแลนด์ ลอป (Holland Lop)
เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่าง กระต่ายสายพันธุ์เฟรนซ์ ลอป (French Lop) กับ เนเธอแลนด์ ดวอร์ฟ (Natherland Dwarf) โดยนักพัฒนาพันธุ์กระต่าย (Breeder) ชาวดัทซ์ หรือ เนเธอแลนด์ ชื่อ นายแอนเดรียน เดอคอก
การ พัฒนาสายพันธุ์ใช้เวลาในการพัฒนายาวนานร่วม 15 ปี เริ่มตั้งแต่ปี คศ.1949 จนถึงปี 1964
กระต่ายฮอลแลนด์ ลอป ต้นแบบจึงเกิดขึ้นและได้รับการจดทะเบียนรับรองมาตรฐานสายพันธุ์จากสภา กระต่าย
แห่งเนเธอร์แลนด์ และในปี 1980 ฮอลแลนด์ลอป ก็ได้รับการยอมรับจากสมาคมพัฒนาพันธุ์กระต่าย
แห่งสหรัฐอเมริกา (ARBA) ที่งานประกวดกระต่ายสวยงาม ที่มลรัฐเท็กซัส








ลักษณะสายพันธุ์

คุณลักษณะ ของกระต่าย ฮอลแลนด์ ลอป (Holland Lop) ที่ตรงตามมาตรฐาน
1. ลักษณะหัวต้องกลมโต
2. กล้ามเนื้อหนาแน่น
3. ลำตัวสั้นกระทัดรัด สมส่วนทั้งความยาว ความกว้าง และความสูง
4. สัดส่วนของลำตัว และหัว ควรจะเป็น 3 : 1 โดยหัวที่โต จะต่อกับลำตัวแลดูเหมือนไม่มีคอ
5. ไหล่ และอกกว้าง หนาและเต็ม เช่นเดียวกับสะโพก
6. ขาสั้น ขนนุ่มลื่น
7. หน้าตรง และกระดูกใหญ่
8. ใบหูทั้งสองข้างต้องตกแนบสนิทกับแก้ม และใบหูต้องหนาและมีขนขึ้นเต็ม ใบหูต้องยาวเลยจากคางไม่เกิน 1 นิ้ว ความยาวของหูต้องสัมพันธ์กับหัว และตัว
9. น้ำหนักตัวตามมาตรฐานในตัวผู้ คือ 1.6 ก.ก. ในตัวเมีย 1.7 ก.ก.
และน้ำหนักที่มากที่สุดที่สามารถจดทะเบียนได้คือ 1.8 ก.ก.

กลุ่มสีที่ตรง ตามมาตรฐาน


กระต่ายฮอลแลนด์ลอปมีสีมากมายหลากหลายสี จนสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มสีต่างๆ ได้มากถึง 7 กลุ่มสี ได้แก่ กลุ่มอะกูติ (Agouti) กลุ่มสีขาวแต้ม (Broken) กลุ่มสีขาวมีมาร์กกิ้งแปดแต้ม (Pointed White) กลุ่มสีพื้น (Self) กลุ่มสีเฉด (Shaded) กลุ่มสีพิเศษ (Ticked) และกลุ่มสีอื่นๆ (Wide Band) หรือเราอาจจะกล่าวง่ายๆ ว่ามีสีต่างๆ ที่รับรองโดย ARBA แล้ว ดังต่อไปนี้ คือ

กลุ่มอะกูติ : สีเชสนัทอะกูติ สีช็อกโกแล็ตอะกูติ สีชินชิลล่า สีช็อกโกแล็ตชินชิลล่า สีลิงซ์ สีโอปอล
สีกระรอก (Squirrel)


กลุ่มสีขาวแต้ม : สีขาวแต้ม คือสีขาว แต่มีสีแต้มเป็นสีอะไรก็ได้ ที่ได้รับการรับรอง รวมถึงสีไตรคัลเลอร์
หรือสามสี (มีสีขาว น้ำตาล และดำ)


กลุ่มสีขาวมีมาร์กกิ้งแปดแต้ม : โดยที่มาร์กกิ้งต้องมีสีกลุ่มสีพื้น (สีดำ สีบลู สีช็อกโกแล็ต สีไลแลค)

กลุ่มสีพื้น : สีดำ สีบลู สีช็อกโกแล็ต สีไลแลค สีขาวตาแดง และสีขาวตาฟ้า

กลุ่มสีเฉด : สีวิเชียรมาศ สีทองแดง สีซีล สีเทาควันบุหรี่ และสีกระ

กลุ่มสีพิเศษปลายขนสีน้ำตาล : ตอนนี้มีอยู่สีเดียวคือ สีสตีล หรือสีสนิมเหล็ก

กลุ่มสีอื่นๆ : สีครีม สีฟางข้าว สีฟร้อสตี้ (เทาควันบุหรี่อ่อนๆ) สีส้ม และสีแดง

ในขณะนี้ได้มีสีอีกกลุ่มหนึ่งที่เพิ่งจะได้รับการรับรองเมื่อต้นปี พ.ศ. 2548 ที่ผ่านมา คือ กลุ่มสร้อยทอง หรือ ออตเตอร์ สีทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นสีมาตรฐานของสมาคมนักพัฒนาพันธุ์กระต่ายแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Rabbit Breeders Association, Inc.) แต่ของสภากระต่ายแห่งสหราชอาณาจักร (The British Rabbit Council) ก็จะมีสีน้อยกว่านี้ แต่จะมีสีแปลกๆเพิ่มขึ้นมาแทน เช่น กลุ่มสีสร้อยเงิน เช่น สีเทาควันบุหรี่สร้อยเงินและสีทองแดงสร้อยเงิน เป็นต้น



วีธีการเลี้ยงกระต่าย

ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับการเลี้ยงกระต่าย
จับหูกระต่าย ขอบอกว่าถึงตายเชียวค่ะ หูของกระต่ายมีเส้นประสาทเยอะมาก การจับหูหิ้ว จะเจ็บ และถึงกับตายได้

อย่าจับท้อง จริงๆแล้วจับได้ค่ะ แต่พอประมาณนะ จับท้องน่ะเค้ารำคาญ ก็เหมือนคน เวลาใครมาจับท้องเรา เราจะจั๊กกะจี๋หรือรำคาญนิดๆใช่มั้ยล่ะคะ

อย่าจับเค้าบ่อยๆ เดี๋ยวเฉามือ จับได้ค่ะ กระต่ายเค้าชอบให้เราลูบตัวเบาๆ บางตัวถึงกับเคลิ้มเลยนะคะ เอานิ้วเกาหลังคอเบาๆ เพราะส่วนนั้นเค้าเลียตัวเองไม่ค่อยถึงน่ะค่ะ

ให้กินผักบุ้ง ถั่วฝักยาว กระถิน แตงกวา กะหล่ำปลี ตายแน่ๆค่ะ ผักบุ้งทั้งไทยและจีนมียางค่ะ อย่าไปให้เค้าเลย, แตงกวา น้ำเยอะ ท้องเสียได้ , กระถิน มีพิษ ท้องร่วง , ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี ท้องอืด

ให้กระต่ายกินนม ถ้าซื้อมาจากร้านแล้วถึงจะยังไม่หย่านมแม่ แต่เค้าก็ถูกที่ร้านจับหย่านมแล้วค่ะ ห้ามให้นมอีกเด็ดขาด เพราะจุลินทรีย์ในการย่อยนมของเค้าหมดไปแล้ว ถ้าคุณให้นมเค้าจะท้องเสียนะคะ

ให้กินขนมของคน เช่น ป๊อกกี้ หมูปิ้ง ข้าวสุก ขนมปัง เค้ก ช็อกโกแลต ห้ามเด็ดขาดนะจ๊ะ
เนื่องจากเค้าเป็นสัตว์ที่มีกระเพาะหมัก ย่อยได้แต่หญ้าและผัก เนื้อสัตว์และแป้งเป็นของต้องห้าม (บางคนบอกว่ามันน่ารักดีกินขนม บางคนก็รู้ว่าไม่ดี แต่บอกว่าเห็นมาดมๆขอกินก็ใจอ่อนให้ แต่ให้ไม่เยอะหรอกนะ)
จะมากจะน้อยก็ไม่เป็นผลดีกับเค้า คุณอาจบอกว่าให้แล้วก็อยู่ได้ไม่เห็นตายนี่ ถูกค่ะ ยังไม่ตาย แต่อายุก็คงไม่ยืน ถ้าอยากให้เค้าอยู่กับเรานานๆก็หยุดตามใจเค้าเถอะค่ะ กระต่ายเนี่ยส่งอะไรให้เค้าก็กินหมดแหละ

ให้อยู่แต่ในกรง ถ้าให้คุณอยู่แต่ในห้องนอนห้ามออกไปไหนจะอึดอัดมั้ยคะ เช่นกันค่ะ เค้าก็อยากออกมาวิ่งเล่นบ้าง เป็นการออกกำลังกายด้วยนะคะ
ปล่อยวิ่งเล่นเป็นบางเวลาก็พอค่ะ เช่น กลับมาจากที่ทำงานแล้วค่อยปล่อยเค้า ก่อนคุณนอนก็ค่อยเก็บเข้ากรง เป็นต้น ทั้งนี้จัดสรรเวลาตามสะดวกนะคะ


นิสัยของกระต่าย
กระต่ายก็คือกระต่าย ไม่ใช่หมาแมว จะให้เรียกแล้วมาหา ยากค่ะ เป็นบางตัวเท่านั้นแล้วแต่อารมณ์ของเค้าด้วยนะ

เนื่องด้วยวงจรชีวิตเค้าจะเป็นสัตว์ที่ถูกล่า ดังนั้นแม้ว่าจะป่วย เค้าก็จะไม่แสดงอาการให้เห็น เมื่อเจ้าของมารู้อีกทีก็จะเป็นมากแล้วหรือบางครั้งก็มักจะสายเกินไป
ดังนั้นจึงควรพาเจ้าตัวน้อยไปตรวจสุขภาพกับคุณหมอเฉพาะทางที่เชี่ยวชาญสัตว์เล็กนะคะ

ชอบอยู่ในที่แคบๆและมุมมืด เพราะเค้ารู้สึกปลอดภัย

กลางวันนิ่ง กลางคืนคึก เพราะกระต่ายเป็นสัตว์หากินกลางคืนค่ะ กลางคืนเค้าอาจจะซนหรือทำเสียงดัง ให้คุณหงุดหงิด อย่าโกรธเค้าเลยนะคะ ต้องเข้าใจว่าเป็นนิสัยเค้า เหมือนกับคนที่ตื่นเช้า หลับกลางคืนจ้า

กระต่ายเป็นสัตว์อายุยืน 4-10 ปีขึ้นไป ดังนั้นก่อนเลี้ยงต้องคิดให้ดี ถ้าคุณจะต้องย้ายอพาร์ทเม้นท์ หรือไปอยู่ต่างจังหวัด หรือในอนาคตต้องไปเรียนต่อต่างประเทศ เค้าจะต้องถูกทอดทิ้งซึ่งน่าสงสารมากๆเลยค่ะ

กระต่ายอาจจะออกลูกได้ถึง 1-14 ตัวขึ้นไปในครอกเดียว (กรณี 21 ตัวเคยเกิดมาแล้ว)และถ้ามีการผสมต่อหลังคลอดก็จะติดทันที ดังนั้นหากไม่ต้องการมีภาระเลี้ยงลูกกระต่าย ต้องพาไปทำหมันหรือแยกกันปล่อยวิ่งนะคะ

อึกระต่ายไม่เหม็น (ยกเว้นอึพวงองุ่นซึ่งกระต่ายจะกินเข้าไปใหม่อีกครั้ง กินจากก้นเลยค่ะ ที่อยู่ข้างนอกเก็บทิ้งได้เลยจ้า) ฉี่ถ้าทิ้งไว้นานฉุนเอาเรื่องค่ะ
หมั่นทำความสะอาดก็จะไม่เหม็นนะคะ ตัวเค้าก็ไม่เหม็นค่ะ เพราะกระต่ายจะเลียทำความสะอาดตัวเองตลอด แต่ถ้าสถานที่เลี้ยงเค้าเหม็นเพราะคุณไม่หมั่นทำความสะอาด ตัวเค้าก็จะเหม็นแน่ๆค่ะ

การอาบน้ำกระต่าย สามารถทำได้ แต่ไม่บ่อยนะจ๊ะ 3-4 เดือนอาบสักที และต้องเป่าให้แห้งด้วยนะ เดี๋ยวจะเป็นหวัด
อาหารของกระต่ายตามช่วงอายุ 
แรกเกิดถึง 1 เดือนครึ่ง - นมแม่กระต่าย (ถ้าแม่ไม่เลี้ยงหรือน้ำนมไม่พอให้ป้อนนมแพะแทน)
1 เดือนครึ่ง - 2 เดือน - นมแม่กระต่าย เสริมด้วยหญ้าแห้งแพงโกล่า อัลฟัลฟ่า และอาหารเม็ด
2 เดือน - 4 เดือน - หญ้าแห้งแพงโกลา อัลฟัลฟ่า อาหารเม็ด
4 เดือน - 6 เดือน - หญ้าแห้งแพงโกลา อัลฟัลฟ่า อาหารเม็ด หญ้าขน ผักต่างๆ
6 เดือน - 1 ปี - หญ้าแห้งแพงโกลา หญ้าแห้งทิโมธี หญ้าขน ผักต่างๆ อาหารเม็ดลดน้อยลง งดอัลฟัลฟ่า1 ปีขึ้นไป - หญ้าแห้งแพงโกลา หญ้าแห้งทิโมธี หญ้าขน ผักต่างๆ อาหารเม็ดแค่หยิบมือเล็กๆหรืองดให้

อาหารของกระต่าย
ผักที่ปลอดภัย - ผักกาดหอม ผักกาดขาว กวางตุ้ง คะน้า ผักชีฝรั่ง ใบบัวบก แครอท (กะเพราให้อาทิตย์ละครั้ง ครั้งละ 2-3 ใบ เพื่อช่วยเสริมในการแก้ท้องอืด)

ผักอันตราย - ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว แตงกวา มะเขือเทศ กะหล่ำปลี ผักกาดแก้ว กระถิน

ผลไม้ที่ปลอดภัย - แอปเปิล สาลี่ ฝรั่ง ชมพู่ มะละกอ สับปะรด และผลไม้ตระกูลเบอรี่ต่างๆ

ผลไม้อันตราย - กล้วย ส้ม ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว

การให้ผลไม้กระต่าย ควรให้สัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 1-2 ชิ้นเล็กๆเท่านั้น